Page 129 - คู่มือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
P. 129
โดยให้เสนอรายงานดังกล่าวข้างต้นภายในวันที่ ๓๐ ของเดือนนั้น ๆ และศูนย์ติดตามและแก้ไข
ปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปเสนอผู้บริหารทราบต่อไป
๒. การประเมิน ผลกระทบจากภัยพิบัติ
๒.๑ ส�านักงานพัฒนาที่ดินเขตและสถานีพัฒนาที่ดิน
๑) ให้เจ้าหน้าที่ สพด. Print แบบฟอร์ม จาก website โปรแกรมระบบเตือนภัยแบบ
ส�ารวจข้อมูลเร่งด่วนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้วน�าแบบฟอร์มไปกรอกข้อมูลภาคสนาม
๒) สพด. ที่รับผิดชอบพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดภัยพิบัติ ด�าเนินการส�ารวจ
ข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ และกรอกแบบฟอร์ม ตามข้อ ๑.
๓) น�าข้อมูลจากข้อ ๒ มากรอกลงบน website (โปรแกรมระบบเตือนภัย) ส่วนรูปภาพ
(ถ้ามี) ให้ scan ใส่ไว้กับข้อมูลตามที่โปรแกรมก�าหนด
๔) ส่ง E-Mail รายงานความเสียหายถึงอธิบดี รองอธิบดี ผู้อ�านวยการส�านักงาน
พัฒนาที่ดินเขตและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบและพิจารณา
๒.๒ ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด รายงานสถานการณ์ภัย
ธรรมชาติเบื้องต้นทันทีหรือภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเตรียมการช่วยเหลือเบื้องต้น
๒.๓ ส�านักงานเกษตรจังหวัด ส�านักงานปศุสัตว์จังหวัด ส�านักงานประมงจังหวัด รายงาน
สถานการณ์และผลกระทบส่งให้กรมต้นสังกัด และส�าเนาส่งศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด
๒.๔ หากพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายให้ด�าเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวง
การคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภายในระยะเวลา ๓ เดือน
นับตั้งแต่วันที่เกิดภัย
๒.๕ ศูนย์ติดตามฯ จังหวัด ติดตามและรายงานสถานการณ์ภัย ผลการให้ความช่วยเหลือ
เกษตรกรให้ศูนย์ติดตาม ฯ กระทรวงทราบอย่างต่อเนื่อง
๒.๗ ศูนย์ติดตามฯ กระทรวง ติดตาม ประมวลข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วรายงาน
สถานการณ์ภัยพิบัติ และผลการช่วยเหลือต่อผู้บริหารของกระทรวงฯ เพื่อก�าหนดมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ตลอดจนด�าเนินการเร่งรัด ติดตาม การช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
๓. การให้ความช่วยเหลือ (เบื้องต้น)
๓.๑ กรมชลประทาน ด�าเนินการ
อุทกภัย
(๑) ปรับแผนการบริหารจัดการน�้า เพื่อการลดผลกระทบจากปัญหาน�้าท่วม
(๒) สนับสนุนเครื่องจักร-เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องสูบน�้า รถบรรทุกน�้า
และเครื่องผลักดันน�้าเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย
(๓) ส�ารวจ ตรวจสอบ และเสริมประสิทธิภาพของอาคารชลประทาน โดยการเสริมความสูง
และเพิ่มความแข็งแรงของระบบป้องกันน�้าท่วม รวมทั้งการปิดช่องทางน�้า หรือเปิด
ช่องทางน�้าให้ระบายน�้าได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเร่งซ่อมแซมอาคารชลประทานที่ช�ารุด
ให้สามารถใช้งานได้ก่อนเป็นการชั่วคราว รวมถึงการก่อสร้างท�านบปิดกั้นน�้าเค็มรุกล�้า
เข้ามาในพื้นที่การเกษตร
คู่มือกำรให้ควำมช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้ำนกำรเกษตร 125